top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนNet Zero Techup

♻️ รู้จักภาษีพลาสติก (Plastic Tax) มาตรการการค้าใหม่ แก้ปัญหาโลกร้อน


ในยุคที่ถนนทุกสายมุ่งสู่ Green Economy ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นที่หนึ่ง การจัดเก็บ ภาษีพลาสติก (Plastic Tax) หรือ ภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติก (Plastic Packaging Tax: PPT) เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ผู้ประกอบการไทยต้องคำนึงถึง เพราะจะกลายเป็นต้นทุนทางการค้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากหลายประเทศคู่ค้าเริ่มบังคับใช้มาตรการภาษีดังกล่าว โดยจะเป็นการเรียกเก็บเงินหรือค่าธรรมเนียมจากผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือประเทศสมาชิกที่มีการผลิต นำเข้า หรือใช้ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและย่อยสลายยาก ทั้งนี้ ไม่รวมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มาจากการรีไซเคิล


🚩 ประเทศไหนบ้างที่มีการจัดเก็บภาษีพลาสติกเเล้ว หรือเตรียมที่จะเก็บภาษี


สหภาพยุโรป เริ่มจัดเก็บภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องจ่ายภาษีให้กับสหภาพยุโรป โดยคำนวณจากปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว ในอัตรา 0.8 ยูโรต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ประเทศสมาชิกอียูแต่ละประเทศ ยังสามารถที่จะออกมาตรการภาษีพลาสติกของตนเองที่แตกต่างกันออกไปได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น


✅️ อิตาลีและสเปน: เก็บภาษีพลาสติกจากผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้ซื้อ ซัพพลายเออร์ และผู้นำเข้า ในอัตรา 0.45 ยูโรต่อกิโลกรัม


✅️ สหราชอาณาจัก: จัดเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติกจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมจากพลาสติกรีไซเคิลน้อยกว่าร้อยละ 30 ในอัตรา 200 ปอนด์ต่อตัน เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.65


✅️ โปรตุเกส: เตรียมจัดเก็บภาษีพลาสติกในอัตรา 0.30 ยูโรต่อกิโลกรัม ภายในปี 2566


✅️ สหรัฐอเมริก: ถือเป็นตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกอันดับ 1 ของไทย ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างจัดทำร่างกฎหมาย Reduce Act of 2021 ที่จะจัดเก็บภาษีพลาสติกที่ไม่มีส่วนผสมจากพลาสติกรีไซเคิลและบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ในอัตรา 0.2 – 0.5 ดอลลาร์ต่อปอนด์


✅️ ฟิลิปปินส์: เป็นอีกประเทศที่เตรียมจะจัดเก็บภาษีจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวเช่นกัน ในอัตรา 100 เปโซฟิลิปปินส์ต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 1.75 ดอลลาร์ฯ ภายในปี 2569


🚩 แนวโน้มการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก และการปรับตัวที่จำเป็นของผู้ประกอบการไทย


จากข้อมูลสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับใน 11 เดือนแรกของปี 2565 คิดเป็นมูลค่า 146,580.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 14.09 % โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรก ได้แก่

🔹️ สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วน 19.26%

🔹️ ญี่ปุ่น มีสัดส่วน 16. 74%

🔹 ️เวียดนาม มีสัดส่วน 5.69%

🔹️ ฟิลิปปินส์ มีสัดส่วน 4.94%

🔹️ จีน มีสัดส่วน 4.75%


แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่มีการจัดเก็บภาษีจากพลาสติกหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยต้องเตรียมการรองรับปรับตัว และแสวงหาโอกาสทางการตลาดในการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค อาทิ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติก โดยการใช้ประโยชน์จากการที่ไทยเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบจำพวก อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่สามารถนำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพได้


🚩 ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ:



---------------------------------------------------

ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่


ดู 159 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page