top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนNet Zero Techup

♻️ USA จ่อประกาศมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: US-CBAM)


ตามที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตั้งเป้าหมาย NDC ลดก๊าซเรือนกระจก 50-52% ภายในปี 2030 และบรรลุ Net Zero GHG Emission ภายในปี 2050 ดังนั้น วุฒิสภาของสหรัฐอเมริกาจึงได้เสนอร่างกฎหมาย Clean Competition Act (CCA) ซึ่งประกอบด้วยมาตรการกำหนดกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) สำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศ และมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: US-CBAM) สำหรับสินค้านำเข้า โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ ผลิตและกลั่นปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ปุ๋ย ไฮโดรเจน กรดอะดิพิก ซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม กระจก เยื่อกระดาษและกระดาษ และเอทานอล


✅️ ในปี 2024 ผู้ผลิตสินค้าจากอุตสาหกรรมเป้าหมายในสหรัฐฯ ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าค่าเฉลี่ยจะต้องจ่ายภาษีตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกินกว่าค่าเฉลี่ย โดยเกณฑ์ค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมในประเทศจะลดลงทุกปี ขณะที่อัตราภาษีปีแรกที่มีการจัดเก็บจะเท่ากับ 55 เหรียญสหรัฐต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (US$/tCO2eq) ในปีถัดไปเพิ่มขึ้นตามดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) รายปีบวกด้วยอัตรา 5%


สำหรับสินค้าที่นำเข้าในประเทศสหรัฐฯ จะเริ่มใช้ในปี 2026 โดยจำแนกสินค้านำเข้าออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่


🔷️ (1) สินค้าตามอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะต้องจ่ายภาษีคาร์บอนเช่นเดียวกับสินค้าที่ผลิตในประเทศ 


🔷️ (2) สินค้าสำเร็จรูปที่ใช้วัตถุดิบตามอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นส่วนประกอบและมีน้ำหนักของวัตถุดิบเกินกว่าที่กำหนดตามเกณฑ์ที่จะต้องจ่ายภาษีคาร์บอนเช่นเดียวกับสินค้าที่ผลิตในประเทศ


โดยในปี 2026 – 2027 กำหนดน้ำหนักไว้ที่ 500 ปอนด์ (ประมาณ 226.80 กิโลกรัม) และในปี 2028 เป็นต้นไปปรับเกณฑ์น้ำหนักเป็น 100 ปอนด์ (ประมาณ 45.36 กิโลกรัม) โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่ม Least developed countries (LDCs) ตามหลักเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ (UN) จะได้รับการยกเว้นภาษีจากมาตรการ US-CBAM ดังกล่าว


✅️ ภายใต้ร่างกฎหมาย CCA ค่า Carbon intensity จะถูกนำไปใช้กับสินค้าที่ผลิตในประเทศและนำเข้าอย่างเท่าเทียมกัน โดยคิดเป็นสัดส่วนกับระดับค่า Carbon intensity ของผลิตภัณฑ์ที่เกินกว่าค่า Carbon intensity ที่เป็นเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งจะมีแนวคำนวณ ดังนี้


(Carbon intensity of product - Carbon intensity benchmark) x (Weight of goods) x (Carbon price)


ดังนั้น ในระยะสั้นผู้ส่งออกของไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีการส่งสินค้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาควรมีการจัดเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ซึ่งจะต้องมีการรายงานเป็นประจำภายใต้มาตรการ US-CBAM ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณา ในขณะที่ระยะปานกลางและระยะยาวผู้ประกอบการควรเร่งลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น มิฉะนั้นผู้ประกอบการจะเผชิญกับต้นทุนในการส่งออกสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น อันจะส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคต


🚩แหล่งที่มาของข้อมูล: #TGO


ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


Post: Blog2_Post
bottom of page