top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนNet Zero Techup

♻️ TOKAMAK เทคโนโลยี Nuclear Fusion ประตูสู่พลังงานสะอาดโลกอนาคต


✅️ โทคาแมค (Tokamak) ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ฝีมือมนุษย์


โทคาแมคเป็นเครื่องจำลองปฏิกิริยาฟิวชันซึ่งเลียนแบบการทำงานของดวงอาทิตย์ โดยเป็นการจำลองการรวมกันของนิวเคลียสของธาตุที่มีน้ำหนักเบา อย่างดิวทีเรียม (#Deuterium) และทริเทียม (#Tritium) ภายใต้แรงดันและอุณหภูมิที่สูงมาก ที่ใจกลางดวงอาทิตย์มีความกดดันจากแรงโน้มถ่วงมหาศาลทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชันได้ที่อุณหภูมิสูงในระดับ 10 ล้านองศาเซลเซียส แต่บนโลกมีความดันต่ำกว่ามาก การทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชันต้องใช้อุณหภูมิที่สูงกว่า 100 ล้านองศาเซลเซียส จึงจะเกิดปฏิกิริยาฟิวชันและปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา ซึ่งพลังงานฟิวชันนี้เป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หลายประเทศทั่วโลกจึงร่วมมือกันพัฒนาเพื่อเป็นพลังงานสะอาดให้กับโลกในอนาคต


✅️ ความท้าทายของเทคโนโลยี #Nuclear #Fusion


ปฏิกิริยาฟิวชันที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างเลียนแบบได้ โดยนักวิจัยต้องสร้างเงื่อนไขของการเกิดดวงอาทิตย์บนโลกและควบคุมพลังงานพลาสมาให้ได้ตลอดเวลา บรรดาประเทศมหาอำนาจได้เริ่มศึกษาเทคโนโลยีนี้มาแล้วไม่ต่ำกว่า 60 ปี แต่ก็ยังไม่มีประเทศไหนในโลกที่สามารถสร้างพลาสมาและควบคุมการเกิดฟิวชันได้อย่างมีเสถียรภาพ ระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดที่ทำได้ คือ 1,056 วินาที โดยใช้เตาปฏิกรณ์ EAST สาธารณรัฐประชาชนจีน


✅️ #Thailand #Tokamak I : TT-1 ก้าวแรกของโทคาแมคเครื่องแรกของไทยและอาเซียน


ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. ได้รับอุปกรณ์บางส่วนของเครื่องโทคาแมคจากสถาบันฟิสิกส์พลาสมาในประเทศจีน ซึ่งเป็นก้าวแรกในการพัฒนาเทคโนโลยีฟิวชันในไทย โดยร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และสถาบันวิจัยอื่นๆ ได้ส่งทีมงานไปศึกษาและพัฒนาเครื่องโทคาแมคชื่อ Thailand Tokamak I : TT-1 จนสามารถสร้างพลาสมา (#Plasma) ได้ในระยะเวลา 0.1 วินาที อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะต้องการการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อรักษาเสถียรภาพของพลาสมา แต่การพัฒนานี้ได้เปิดโอกาสให้ไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีฟิวชันในอาเซียน


เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2566 Thailand Tokamak I (TT-1) ได้ถูกถอดประกอบจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ถูกนำมาติดตั้งที่ สทน.องครักษ์ จ.นครนายก และเดินเครื่องอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เพื่อให้นักวิจัยไทยสามารถทดลองสมมติฐานเกี่ยวกับฟิวชันได้ ถือเป็นโทคาแมคเครื่องแรกของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยมีเป้าหมายภายใน 10 ปี ไทยจะพัฒนาเครื่องโทคาแมคใหม่ขึ้นเอง


แม้หนทางจะยาวไกล แต่การร่วมมือกันของประเทศต่างๆ สามารถสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ได้ โดย 7 ประเทศใหญ่ ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยนักลงทุนกว่า 30 ประเทศ ได้ร่วมกันลงทุนกว่า 10,000 ล้านยูโร เพื่อสร้างโทคาแมคที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เมือง Cadarache ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี 2556 ภายใต้โครงการ International Thermonuclear Experimental Reactor : #ITER ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องครั้งแรกในปี 2568 เพื่อพิสูจน์การสร้างพลังงานฟิวชัน ก่อนพัฒนาไปสู่การผลิตไฟฟ้าในอนาคต


🚩 แหล่งที่มา: #กฟผ. #การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


---------------------------------------------------

ติดตามข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่

Facebook: Net Zero Techup


ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page