เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2566 มีการเผยแพร่ภาพน้ำทะเลมีสีเขียวทั่วทั้งชายหาดของเกาะล้าน จ.ชลบุรี ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวคือปรากฎการณ์ “แพลงก์ตอนบลูม" (Plankton Bloom) หรือ "ขี้ปลาวาฬ" ถือเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสีเนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนของสาหร่ายเซลล์เดียวในทะเลจำนวนมาก
โดยต่อมา เพจ “ข่าวสารเกาะล้าน” ได้ระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในฤดูฝน ปีหนึ่งจะเกิดขึ้น 4-5 วัน ตามกระแสน้ำของทะเล ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณหาดตาแหวนและหาดตายาย ซึ่งเป็นหาดที่หันหน้าไปทางปากน้ำที่มีกระแสน้ำจืดไหลลงมา แต่หาดอื่นๆ เช่น หาดนวล หาดแสม หาดเทียน น้ำทะเลยังใสเป็นปกติ
🚩 โลกกำลังส่งสัญญาณอะไรให้กับเรา
แม้ว่าจะเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ แต่ปรากฎการณ์น้ำทะเลเขียวนี้ ถือเป็นสัญญาณเตือนของภัยคุกคามที่กำลังเกิดขึ้นกับผืนน้ำทะเลของไทยและหลายแห่งในโลก โดยในปี 2566 ปรากฎการณ์นี้มีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา “กิจกรรมของมนุษย์” กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้แหล่งน้ำทั่วโลกเกิดปรากฎการณ์นี้ขึ้นบ่อยครั้ง และทวีความรุนแรงมากกว่าที่ผ่านมา เช่น การปล่อยน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนลงในแหล่งน้ำ การใช้ปุ๋ยเคมีในภาคการเกษตร หรือแม้กระทั่งการขยายตัวของประชากรก็มีผลเช่นเดียวกัน
นอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้ว ปัจจัยโดยอ้อมที่อาจส่งผลกระทบคือ “ปรากฎการณ์ภาวะโลกร้อน" (Global Warming) ส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ “น้ำทะเลเดือด” กล่าวคือ น้ำทะเลมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงขึ้น โดยสีเขียวนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ทำให้สิ่งมีชีวิตอย่าง "ไฟโตแพลงก์ตอน" (Phytoplankton) หรือ "แพลงก์ตอนพืช" ซึ่งใช้สารคลอโรฟิลล์สีเขียวและกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างพลังงานให้กับตัวมันเองเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว
จากรายงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Nature ฉบับล่าสุด ระบุว่า ปรากฎการณ์ดังกล่าวนี้ไม่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการเติบโตเกินขีดจำกัดของประชากรแพลงก์ตอน จะทำให้ผืนน้ำโดยรอบขาดออกซิเจน จนกลายเป็นเขตมรณะ (Hypoxic Dead Zone) หรือบริเวณพื้นที่ในมหาสมุทรหรือแหล่งน้ำที่มีปริมาณของออกซิเจนต่ำมาก ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นเขตขาดออกซิเจนจนกระทั่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงอาศัยอยู่ได้อีก ทำให้เกิดการตายและการอพยพของสัตว์น้ำจำนวนมาก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศในแหล่งน้ำอีกด้วย
🚩 แหล่งที่มาของข้อมูลและวิดีโอ:
---------------------------------------------------
ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่
Website: www.netzerotechup.com
Facebook: Net Zero Techup
Blockdit: www.blockdit.com/netzerotechup
Youtube: www.youtube.com/@netzerotechup
Comments