ธนาคารโลกได้จัดทำรายงาน “State and Trend of Carbon Pricing 2023” เพื่อสรุปผลการดำเนินนโยบายกลไกราคาคาร์บอนทั่วโลกในช่วงปี 2022-2023 ซึ่งเป็นเครื่องมือทางนโยบายที่สำคัญในการผลักดันสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำทั้งการผลิต การบริโภค และการลงทุน ซึ่งครอบคลุมนโยบายกลไกราคาคาร์บอน เช่น ระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emissions Trading Scheme: ETS) ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) และกลไกคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Mechanism) โดยเครื่องมือเหล่านี้สามารถสร้างแรงจูงใจทางการเงินโดยตรงที่เชื่อมโยงกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และนโยบายกลไกราคาคาร์บอนทางอ้อม เช่น ภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิง การอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นต้น
✅️ นอกจากนี้ กลไกราคาคาร์บอนทางอ้อมยังคงแพร่หลายและมีขนาดใหญ่กว่ากลไกราคาคาร์บอนทางตรง ซึ่งการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตและการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นมีมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี แม้ว่ากลไกราคาคาร์บอนทางตรงจะเติบโตขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีมูลค่าน้อยกว่านโยบายทางอ้อมอย่างมาก ซึ่งในปี 2022 ระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและภาษีคาร์บอนมีรายได้กว่า 95 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market) มีมูลค่ากว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
✅️ โดยข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2023 พบว่า ประเทศ/รัฐ ทั่วโลกที่ดำเนินการกลไกราคาคาร์บอนด้วยระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและภาษีคาร์บอน มีจำนวน 73 ประเทศ/รัฐ ซึ่งครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ประมาณ 23% หรือ 11.66 กิกะตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtCO2eq)
ต้นปี 2023 ระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีอัตราการเติบโตของราคาเริ่มชะลอตัวลงหลังจากการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นในการเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทายจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และเศรษฐกิจซบเซา
✅️ อย่างไรก็ตาม ราคาสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ Allowance ยังยืนหยัดอยู่ได้แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย มีเพียงบางส่วนไม่เกิน 15% ที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสหภาพยุโรป (#EU #ETS) ราคาพุ่งสูงไปเกินกว่า 100 ยูโรต่อ tCO2eq เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2023 ขณะที่ระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในหลาย ๆ ประเทศ ปรับตัวลดลง เช่น ระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสาธารณรัฐเกาหลี (Republic of #Korea ETS) และสาธารณรัฐประชาชนจีน (#China National ETS) ราคา Allowance ปรับลดลงกว่า 35% หรือต่ำกว่า 10 เหรียญสหรัฐต่อ tCO2eq
✅️ ในขณะที่บางประเทศก็ตอบสนองต่อแรงกดดันจากวิกฤตพลังงานผ่านการปรับลดราคาหรือชะลอตัวการขึ้นของราคาคาร์บอนออกไปก่อน เช่น เยอรมัน แอฟริกาใต้ สวีเดน และขณะที่หลายๆ ประเทศก็ยังคงดำเนินการนโยบายเพื่อการบรรลุเป้าหมายสภาพภูมิอากาศอย่างเข้มงวด เช่น การปรับอัตราภาษีคาร์บอนขึ้น (ไอซ์แลนด์ ลักเซมเบิร์กเนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ แคนนาดา) การปรับลดการจัดสรรสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบให้เปล่า (Free Allowance) เช่น นิวซีแลนด์ สหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์
🚩 แหล่งที่มาของข้อมูล : #TGO
Comments