top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนNet Zero Techup

♻️ รู้หรือไม่ กำไรสุทธิจากการขาย “Carbon Credit” ในตลาดแรก ได้รับการยกเว้นภาษี!

อัปเดตเมื่อ 5 มี.ค. 2566


🚩 เป็นที่ทราบกันดีว่าโลกกำลังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติมากมาย และส่งผลกระทบมาถึงภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจโลก ดังนั้น นานาชาติจึงกำหนดเป้าหมายสู่ Net Zero ภายในปี ค.ศ. 2050 ทำให้ประเทศต่างๆ เริ่มใช้มาตรการจูงใจให้มีการลดการปล่อยคาร์บอน ผ่านการจัดเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) และการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างโอกาสในธุรกิจคาร์บอนเครดิต


📊 ต้นกำเนิดของ Carbon Credit มาจากพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งเป็นผลการประชุม COP3 ณ นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1997 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างข้อกำหนดพันธะกรณีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งผลทำให้เกิดตลาดคาร์บอน (Carbon Market) ซึ่งเป็นตัวกลางที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม โดยการนำสินค้าที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิตมาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยน ที่ทำให้เครื่องมือทางการตลาด (Market Mechanism) สำหรับการแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมสามารถบรรลุผลได้จริง หรือกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ "คาร์บอนเครดิต" ถูกออกเเบบเพื่อใช้เป็นตัวกลางในการซื้อขาย โดยให้ธุรกิจที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกินเกณฑ์กำหนด สามารถซื้อคาร์บอนเคดิตจากบริษัทที่มีส่วนในการดูแลสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการ T-VER นั้นเอง


☘️ T-VER หรือ Thailand Voluntary Emission Reduction Program เป็นกลไกที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) พัฒนาขึ้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ซึ่งจะมีการรับรองรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่บริษัทลดหรือกักเก็บได้จากการใช้พลังงานหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในภาคอุตสาหกรรม การจัดการของเสีย การปลูกต้นไม้ การฟื้นฟูป่า และการจัดการในภาคขนส่ง เป็นต้น โดยจะสะสมเป็นคาร์บอนเครดิตเพื่อขายให้กับบริษัทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินปริมาณที่กำหนด


🚩 ดังนั้น เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี ค.ศ. 2065 ได้สำเร็จ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศที่สามารถขายคาร์บอนเครดิต องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) และกรมสรรพากร ได้ผลักดันให้เกิดมาตรการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่ธุรกรรมการขายคาร์บอนเครดิตในตลาดแรก (Primary Market)


📢 โดยกรมสรรพากรได้ประกาศพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 694) พ.ศ. 2563 ให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิที่เกิดจากการขายคาร์บอนเครดิตในประเทศจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจที่ได้ขึ้นทะเบียนกับ TGO เป็นเวลาสามรอบบัญชีต่อเนื่องกัน ครั้งนั้น TGO ได้ส่งเสริมให้มีผู้มาขอใช้สิทธิ์ตามประมวลรัษฎากรฯ โดยมีผู้พัฒนาโครงการ “ลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย” (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) จำนวน 14 โครงการ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้ 351,847 tCO2eq/year


จากนั้น TGO ได้ประสานความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับกรมสรรพากรเพื่อขอปรับปรุงและขยายระยะเวลาบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาฯ ซึ่งนำมาร่างประกาศพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่....) พ.ศ.......... โดยการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาของมาตราการตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีการมีผลบังคับใช้ ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2570


การขยายระยะเวลามาตรการภาษีครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมให้เกิดโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการดำเนินงานและบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย เกิดการสร้างแรงจูงใจที่ครอบคลุมภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ รวมถึงเพิ่มมูลค่าคาร์บอนเครดิต ส่งเสริมให้ตลาดคาร์บอนเครดิตมีสภาพคล่องมากยิ่งขึ้น


🚩 เงื่อนไขการใช้สิทธิ


✅️ 1. เป็นโครงการ “ลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย” (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อบก. ตั้งแต่วันที่ พรฎ. มีผลบังคับใช้ ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2570


✅️ 2. คำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของนิติบุคคล

ให้คำนวณตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยนิติบุคคลนั้นต้องคำนวณกำไรสุทธิของรายได้จากการดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่ละโครงการแยกออกจากรายได้จากการประกอบกิจการอื่นเป็นระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน


✅️ 3. นิติบุคคล ที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้


🔹️️ให้แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้พร้อมทั้งบัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนของแต่ละโครงการ


🔹️ให้ยื่นบัญชีงบดุลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก


🔹️ ให้ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกันในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นั้น


🚩 เเหล่งที่มาของข้อมูลเเละรูปภาพ:


---------------------------------------------------

ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่


ดู 13 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page