♻️ ราคา #CBAM #Certificates คำนวณอย่างไร ?
CBAM คือ เครื่องมือเชิงนโยบายเพื่อปรับราคาคาร์บอนของสินค้านำเข้าโดย EU จะจัดเก็บจากประเทศผู้ส่งออกสินค้าในรายการสินค้าที่ปล่อยคาร์บอนเข้มข้น (Carbon Intensive Products) ที่เข้ามาในตลาด EU ในเบื้องต้นรายการสินค้าประกอบด้วย 6 รายการ ได้แก่ อะลูมิเนียม, เหล็กและเหล็กกล้า, ปูนซีเมนต์, ไฟฟ้า, ปุ๋ย และไฮโดรเจน โดยการลงนามของรัฐสภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป ประกาศกฎว่าด้วย CBAM ฉบับล่าสุด ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2023
🚩 กลไกของ #EU ในการจัดเก็บ CBAM
กลไกการจัดเก็บ CBAM เป็นการปรับราคาคาร์บอนของสินค้านำเข้า CBAM ใน EU คิดจากส่วนต่างราคาคาร์บอนระหว่างราคาคาร์บอนใน EU และราคาคาร์บอนในประเทศผู้ส่งออก ต่อปริมาณ carbon footprint ของสินค้านำเข้า ซึ่งในแต่ละรายการสินค้าของแต่ละประเทศจะมีค่าที่แตกต่างกัน ปริมาณการปรับราคาคาร์บอนของสินค้านำเข้า (CBAMEU) เรียกชื่อทางการว่า "CBAM certificates" มีหน่วยเป็น EUR / tonne of CO2 equivalents emitted ดังนั้นสูตรการคิดราคา CBAM certificates เป็นดังนี้
#CBAMEU = Product Carbon Footprint x (Carbon PriceEU – Carbon PriceExporter)
โดยที่:
▪️ Carbon PriceEU คือ ราคาคาร์บอนใน EU คิดอ้างอิงจากราคาเฉลี่ยรายสัปดาห์ของการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกในตลาดคาร์บอนของสหภาพยุโรป
▪️ Carbon PriceExporter คือ ราคาคาร์บอนในประเทศผู้ส่งออก
*** หมายเหตุ ***
🚩 ตัวอย่างการคำนวณ CBAM certificate
สมมุตินำเข้าเหล็ก 10 ตัน จากจีน โดยมี assumption ดังนี้
▪️ CO emission intensity = 1.70 tons CO2 equivalent/ton of steel
▪️ China National ETS: CNY 55.30 (EUR 7.69)
▪️ EU Average auction price ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2022 = EUR 83.5
คำนวณหาปริมาณคาร์บอน ดังนี้
🌏 #CarbonFootprint = 10 x 1.70 = 17.0 tons CO2 equivalent
จากนั้น คำนวณราคา CBAM certificates
💵 #CBAMEU = 17.0 x (83.5 - 7.69) = 1,288.77
ดังนั้น สำหรับการนำเข้าเหล็ก 10 ตัน จากจีน ประมาณการราคา CBAM Certificate เท่ากับ EUR 1,288.77 / tonne of CO2 equivalents emitted
🚩 ผลกระทบของ CBAM ต่อประเทศไทย 🇹🇭
ในปี 2019 ภาพรวมสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้า CBAM ทั้ง 5 รายการ (ไม่รวมไฮโดรเจน) ของไทยในตลาด EU คิดเป็นร้อยละ 3.9 ของมูลค่าการส่งออกสินค้า CBAM ของไทยในตลาดโลก และมูลค่าการส่งออกสินค้า CBAM ของไทยคิดเป็นร้อยละ 0.027 ของขนาด GDP ไทย ในจำนวน 5 รายการสินค้า CBAM ไทยมีเพียงสองรายการที่เข้าข่ายสินค้าส่งออกที่มีนัยสำคัญในการนำเข้ามาประเมิน คือ #อลูมิเนียม คิดเป็นร้อยละ 4.4 ของมูลค่าการส่งออกในตลาดโลก #เหล็กและเหล็กกล้า คิดเป็นร้อยละ 5.2 ของมูลค่าการส่งออกในตลาดโลก สินค้าอีก 3 รายการของไทยไม่มีนัยสำคัญในตลาด EU
โดยผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันในตลาด EU จะพิจารณาด้วยดัชนี Relative CBAM Exposure Index นับตั้งแต่ CBAM certificates มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2026 กำหนดให้ค่าตั้งต้นเท่ากับศูนย์ ถ้าค่าดัชนีมีค่าเป็นบวกแสดงว่ารายการสินค้าดังกล่าวได้รับผลกระทบทางลบ และถ้าค่าดัชนีมีค่าเป็นลบแสดงว่ารายการสินค้าดังกล่าวได้รับผลกระทบทางบวก จากผลการประเมินค่าดัชนีพบว่าเหล็กและเหล็กกล้าของไทยในตลาด EU จะได้รับผลกระทบทางลบสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ในขณะอลูมิเนียมของไทยในตลาด EU จะได้รับผลกระทบทางบวกความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น
🚩 แหล่งที่มา: #มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
---------------------------------------------------
ติดตามข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่
Website: www.netzerotechup.com
Facebook: Net Zero Techup
Blockdit: www.blockdit.com/netzerotechup
Youtube: www.youtube.com/@netzerotechup
Comments