top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนNet Zero Techup

♻️ “กังหันลมใต้ดินเครื่องแรกของโลก” ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินของกรุงปารีส

อัปเดตเมื่อ 17 ก.ค. 2566

เนื่องในวันที่ 15 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันลมโลก (Global Wind Day) ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นโดยสมาคมพลังงานลมแห่งยุโรป (WindEurope) และสภาพลังงานลมโลก (Global Wind Energy Council: GWEC) เพื่อเฉลิมฉลองการค้นพบพลังงานลมพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงโลกเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน


🚩 บริษัท Iberdrola ผู้จัดหาและผลิตพลังงานสีเขียวได้ทำการติดตั้งเเละทดสอบกังหันลมจำนวน 6 เครื่อง ในสถานีรถไฟใต้ดิน Miromesnil ของกรุงปารีส ในวันที่ 15 และ 16 มิถุนายน 2565 โดยการเปลี่ยนประตูหมุนที่ทำจากแท่งเหล็กธรรมดาถูกแทนที่ด้วยใบพัดกังหันลมเพื่อแปลงพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้าสีเขียวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


กังหันลมใต้ดินเครื่องแรกของโลกเหล่านี้ได้รับการออกแบบโดยนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย Junia HEI ในเมืองลีล (Lille) ของประเทศฝรั่งเศส โดยใช้เวลาถึงหนึ่งปีเต็มในการออกแแบบกังหันลมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทำจากวัสดุชีวภาพและวัสดุรีไซเคิลในท้องถิ่น


โครงการนี้เป็นผลมาจากความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการสื่อสาร Weber Shandwick Paris, McCann Paris, Mediabrand และ Eventools โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของพลังงานหมุนเวียนและผลกระทบของชาวฝรั่งเศสต่อสิ่งแวดล้อม


🚩 แล้วมันทำงานอย่างไร ?


เทคโนโลยีนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากกังหันลมขนาดเท่าตัวจริงและกลไกการทำงานของนาฬิกา ภายในจะประกอบด้วยมูเล่ย์ หรือ พู่เล่ย์ (Pulley) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนมอเตอร์เพื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้งานต่อไป


ผลจากการทดสอบพบว่าผู้โดยสารเกือบ 27,000 คน เดินทางผ่านประตูกังหันลมที่สถานี Miromesnil เป็นเวลา 2 วัน สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้ 2,160 Wh (ผู้โดยสาร 1 คนผลิตไฟฟ้าได้ 0.08 Wh) ซึ่งเทียบเท่ากับการใช้เครื่องซักผ้า 1 ถึง 2 รอบ โดยประมาณ เป็นที่ยอมรับกันว่ากังหันลมมีการผลิตไฟฟ้าได้ค่อนข้างจำกัดเนื่องจากจำนวนการติดตั้งมีไม่มากพอ อย่างไรก็ดี ปฏิกิริยาของผู้โดยสารเป็นไปในเชิงบวก จากข้อมูลของ Métrobus ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการขนส่งในเขตเมือง พบว่าผู้โดยสารหลายคนได้ร้องขอให้มีการใช้งานทั่วทั้งเครือข่ายของระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของกรุงปารีส


อย่าไรก็ตาม Iberdrola ได้ประมาณการว่าหน่วยการผลิตพลังงานแบบใหม่นี้จะสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้จากผู้โดยสาร 1.7 พันล้านคนต่อปี หรือคิดเป็น 136 MWh จากการติดตั้งประตูหมุนกังหันลมทั่วทุกสถานีรถไฟใต้ดินของกรุงปารีส นั่นเทียบเท่ากับการขับรถยนต์ไฟฟ้าเทสลารอบโลกได้ถึง 24 รอบ หรือใช้กับเครื่องทำความร้อนสำหรับครัวเรือน 4 คน มากกว่า 56 ครัวเรือน เป็นเวลาหนึ่งปี


นับเป็นมิติใหม่ของการประยุกต์ใช้พลังงานลมในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะสามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันทั่วไปของคนเมือง ซึ่งจริงๆ แล้วพลังงานล้วนอยู่รอบๆ ตัวเราทั้งสิ้น


🚩 แหล่งที่มาของข้อมูลและวิดีโอ:





---------------------------------------------------

ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่


ดู 8 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page